Pink Cherry Pink Cherry Melody CodeMouse พุยพุย

บทที่14

บทที่ 14


                 14.การออกแบบระบบและการนำไปใช้



                 1.การออกแบบ

                     การออกแบบระบบก่อนที่จะนำไปใช้ ประด้วยประเด็นสำคัญดังนี้

                 1.1 ประเภทการออกแบบ
                       

                       การออกแบบโดนทั่วไปแยกเป็น 2 ส่วนคือ การออกแบบเชิงตรรกะ และการออกแบบเชิง

                      1.1.1 การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design)

                               การออกแบบเชิงตรรกะเป็นการออกแบบทางแนวคิด โดนการออกแบบจะเน้นที่การออกแบบเชิงขั้นตอนการทำงานหรือกระบวนงานที่ได้มาจากการวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ ออกแบบสำหรับการนำข้อมูลเข้า การไหลเข้าของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การไหลออกของข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ การออกแบบฐานข้อมูลตรรกะผลลัพธ์ การออกแบบจึงอยู่ในรูปของแบบจำลองเชิงตรรกะแบบต่างๆที่ได้ศึกษามาแล้วใน บทก่อนๆ

                      1.1.2 การออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)

                               การออกแบบเชิงกายภาพเป็นการออกแบบทางภาคปฏิบัติสำหรับการนำระบบไปใช้ เพื่อให้เกิด ระบบใหม่ตามการออกแบบเชิงตรรกะ หรือกล่าวไว้ว่า การออกแบบเชิงกายภาพเป็นการสร้างพิมพ์เขียวให้กับระบบ ซึ่งก็คือ กิจกรรมในระยะการออกแบบระบบในวงจรการพัฒนาระบบตามที่ได้กล่าวไว้ใน บทที่ 2 นั้นเองการออกแบบจึงเน้นไปที่การออกแบบเชิงวิธีแสดงข้อมูล การออกแบบโปรแกรม การออกแบบฐานข้อมูลในระดับการภาพ เช่น กำหนดชนิดฟิลต์ข้อมูลให้เหมาะสม

                   1.2 การออกแบบบทางเทคนิค

                         การออกแบบทางเทคนิคเป็นการออกแบบเชิงคุณภาพการทำงานของระบบเมื่อนำระบบมาใช้งานเพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน การสร้างตัวโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคนิคการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ

                   1.2.1 ด้านการนำข้อมูลเข้า

                            การออกแบบด้านนี้ได้กล่าวไว้ว่าแล้วในบทที่ 13 ได้แก้ การออกแบบฟอร์มให้ป้อนข้อมูลที่เหมาะสมกับการทำงาน เช่น คีย์ข้อมูลลงระบบง่าย รวดเร็วมีการควบคุมคีย์ให้ถูกต้อง

                   1.2.2 ด้านการประมวลผลข้อมูล

                            การออกแบบด้านนี้ได้แก่ การออกแบบอัลกอริธึมในโปรแกรมที่เหมาะสม การออกแบบโครงสร้างโปรแกรมการสร้างฐานข้อมูลที่มีการปรับแต่งการทำงานให้กับระบบฐานข้อมูลให้เหมาะสม เช่น กำหนด ประเภทข้อมูลและขนาดเขตข้อมูลที่รวดเร็วและรวมไปถึงการจัดหาอุปกรณ์การแสดงผลข้อมูลที่เหมาะสม เป้นต้น

                   1.3 การออกแบบวิธีการจัดเก็บมูล

                         การออกแบบวิธีการจัดเก็บข้อมูลมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ระบบงานเข้าถึงได้รวดเร็ว และในขณะเดียวกันข้อมูลที่จัดเก็บไว้ที่จะอยู่ในสถาะที่ปลอดภัย ไม่สูญหายหรือถูกแก้ไขโดยไม่มีเหตุอันควร การพัฒนาระบบแต่เดิมที่จะเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเป็นหลัก และในยุค ปัจจุบันการเก็บข้อมูล จะอยู่ในรูปของระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกว่ามาก

                   1.3.1 แฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential)

                            ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเรียงลำดับกันไปตามค่าของข้อมูลที่เป็นคีย์หลัก ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลจะเข้าเพราะต้องเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่ต้นจนกว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ ปัจุจบันเรายังเห็นการทำงานในลักษณะนี้อยู่บ้าง ได้แก่เทปสำรองข้อมูล เนื่องจากว่าการทำงานส่วนใหญ่เป็นการนำข้อมูลเข้าไปเก็บเพิ่มเรื่อย ๆ เป็นต้น

                   1.3.2 แฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Random)

                            ลักษณะการเก็บข้อมูลจะเรียงลำดับกันไปตามลำดับก่อนหลังของการบันทึกข้อมูลและมีการจัด ทำดัชนีตำแหน่งข้อมูลไว้ด้วย ดังนั้น การออกแบบการจัดเก็บจะมีความซับซ้อนขึ้น แต่การเข้าถึงข้อมูลจะรวดเร็วขึ้นและการบันทึกข้อมูลไม่จำเป็นต้องมีการเรียงลำดับก่อนการบอกเวลาในการเข้าถึงข้อมูลของการเก็บข้อมูลแบบนี้จะบอกเป็นเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงข้อมูล

                   1.4 การออกแบบส่วนแสดงผลลัพธ์การทำงาน (Output)

                         การออกแบบผลลัพธ์การทำงานของระบบมีรายละเอียดดังนี้

                   1.4.1 วัตถุประสงค์การออกแบบ

                            วัตถุหลักของการออกแบบส่วนแสดงผลลัพธ์การทำงานคือ การให้ข้อมูลหรือสารเทศที่สำคัญแก่ผู้ใช้งาน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในลำดับการทำงานอื่นอีกต่อไป โดยจะต้องดูข้อมูล ง่ายและได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

                   1.4.2 ลักษณะการใช้งานของส่วนแสดงผลลัพธ์

                            การแสดงผลลัพธ์การใช้งานใน 2 รูปแบบคือ

                         1.รายงาน (Report) และเอกสาร (Document)

                            รายงานและเอกสารจะเป็นผลลัพธ์หลักที่ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะมักใช้เป็นที่แสดงสารสนเทศที่สำคัญที่มาจาการทำงานองค์กร ใช้สื่อสารความเข้าใจ
                          1.) สำหรับการใช้งานสำหรับในองค์กรได้แก่
                               • รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริการ
                               • รายงานแสดงข้อมูลที่กรองข้อมูลที่ไม้ต้องการออก
                               • รายงานแสดงรายละเอียด สำหรับตรวจสอบการปฏิบัติงาน
                          2.) สำหรับการใช้งานภายนอกองค์กร เช่น บุคลลภายนอกหรือหน่วยงานภายนอกองค์กระที่มีการติดต่อได้แก่
                               • การออกแบบใบเสร็จรับเงิน
                               • การออกหนังสือแจ้งการชำระหนี้
                               • เอกสารสำหรับแสดงรายละเอียดการคำนวณภาษีอากร
                               • เอกสารอื่น ฯลฯ

                   1.4.3 ข้อควรพิจารณาสำหรับการออกแบบการแสดงผลลัพธ์

                            เนื่องจากผลลัพธ์ที่แสดงออกมาอยู่ในรูปของการสื่อสารสนเทศหรือข้อมูลที่มาจากระบบ ดังนั้นการออกแบบแสดงผลลัพธ์ต้องพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสื้อสารประกอบด้วยได้แก่
                          1.ผู้ที่รับสาร
                          2.ลักษณะการใช้ประโยชน์จากสาร
                          3.รายละเอียดข้อมูลหรือสารสนเทศที่สื่อสารออกมา
                          4.ชนิดของสื่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสื่อสาร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
                          1.) สื่อที่แสดงข้อมูลคงที่ถาวร (Hard Copy) เป็นสื่อที่เก็บข้อมูลไว้คงที่และข้อมูลไม่ถูกทำลาย สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในเวลาต่อไปได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงการพิมพ์ออกทางกระดาษเป็นหลัก เช่น
                          • พิมพ์บนกระดาษแผ่นสำเนาเดียว เช่น การออกแบบรายงาน
                          • พิมพ์บนกระดาษแบบหลายสำเนา เช่น การออกใบส่งของที่ต้องมีสำเนาสำหรับเจ้าหน้าที่จะหมายถึงการแสดงข้อมูลบนหน้าจอมอนิเตอร์ นั้นคือ เมื่อมีการแสดงข้อมูลใหม่ข้อมูลเดิมจะหายทันที นอกจากนี้มักรวมไปถึงการบันทึกผลลัพธ์เป็นแฟ้มข้อมูลและนำไปเปิดดูข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้
                 

                     1.5 การออกแบบโปรแกรม (Program Design)

                           การออกแบบโปรแกรมถือได้ว่าเป็นงานสุดท้ายในระยะการออกแบบระบบ เพื่อเป็นการเตรียมการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานในระยะการใช้งานระบบ ลักษณะงานหลักก็คือการนำการออกแบบเชิงตรรกะ และการออกแบบเชิงกายภาพมาแปลงเป็นการออกแบบทางเทคนิคในด้านการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือพิมพ์เขียวของโปรแกรมที่จำนำไปใช้งานนระบบใหม่ขึ้นมาที่อยู่ในรูปการพัฒนาระบบสารสนเทศนั้นเอง การออกแบบโปรแกรมแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ดังนี้

                    1.5.1 การจัดทำข้อกำหนดลักษณะความต้องการของโปรแกรม

                             การออกแบบโปรแกรมต้องทราบความต้องการของโปรแรกมก่อนซึ่งก็คือ ความต้องการทางเทคนิค หรือกายภาพที่สอดคล้องกับความต้องการที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบนั้นเอง การจัดนำข้อกำหนกลักษณะความต้องการของโปรแกรมจะช่วยให้พบข้อผิดพลาดและแก้ไข้ได้ทันที แทนที่จะให้พบข้อผิดพลาดของโปรแกรมหลักการรับใช้ระบบไปแล้ว เพราะการแก้ไข้อาจจะยุ่งมากกว่ามากฃ

                   1.5.2 ออกแบบเชิงโครงสร้างให้กับโปรแกรม

                            การออกแบบเชิงโครงสร้างเป็นการออกแบบเชิงเทคนิคโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structured Analysis) เพื่อออ กแบบโปรแกรมขึ้นมาโดนเน้นให้มีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามหน้าที่การทำงานหรือเรียกว่าแบ่งออกเป็นโมดูล แต่โมดูนจะมีค่าความสัมพันธ์ต่อกัน
                         1.แต่ละโมดูลมีความเป็นหนึ่งเดียวสูง (High Cohesion)
                            นั้นคือมีความเฉพาะเจาะจงในการทำงานในโมดูลและแต่ละโมดูลมีความเป็นอิสระต่อกันการออกแบบในลักษณะแบบนี้ช่วยลดความสับสนและเกิดความสะดวกเมื่อมีการเรียกใช้งาน
                         2.แต่ละโมดูลมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆ (Loosely coupled)
                            แม้ว่าในแต่ละโมดูลจะความเป็นอิสระต่อกันสูง แต่การทำงานของโปรแกรมก็ยังต้องอาศัยให้แต่ละโมดูลทำงานร่วมกัน นั้นคือมีความสัมพันธ์กัน (Couples) ดังนั้นการออกแบบโมดูลต้องระวังการอิงตรรกะซึ่งกันและกัน

                  1.5.3 จัดทำแผนผังโครงสร้างของโปรแกรม

                           การจัดทำแผนผังโครตสร้างของโปรแกรมคือใช้เป็นภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลในโปรแรกมได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลจะอยู่ในรูปการส่งผานข้อมูล ( Passing Data) และในรูปขององค์ประกอบพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structure Programming) ตามที่ได้ออกแบบไว้ ผังโครงสร้างนี้จำจำลองกระแสข้อมูล เพียงแต่ผังโครงสร้างนี้แสดงการไหลขอข้อมูลมุมแบบโครงสร้างโปรแกรมที่ถูกออกแบบขี้นมา
                 

                  2.การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์

                     การทำงานของระบบนั้นต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และยังต้องอาศัยการออกแบบทางเทคนิคเพื่อช่วยในการติดต่อประสานกับผู้ใช้งานระบบ และการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เป็นการออบบทางเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีผลต่อต้นทุนในการลงทุนพัฒนาระบบด้วย การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ประด้วยสิ่งต่อไปนี้

                 2.1 การจัดวางระบบคอมพิวเตอร์

                       การจัดวางระบบคอมพิวเตอร์มีสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมดังนี้
                 2.1.1 วิธืการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์
                          1.การจัดชื้อ (Purchase)
                             การจัดชื้อเป็นการจัดหาคอมพิวเตอร์ที่ผู้ชื้อชำระค่าสินค้าทั้งหมดในคราวเดียว การจัดหาวิธี เหมาะสมหรับองค์กรที่มีความพร้อมของบุคคลากรด้านไอทีและมีเงินทุนพร้อม
                          2.การเช่าชื้อ (Leasing)
                             การชื้อเป็นการจัดการคอมพิวเตอร์โดยชำระค่าชื้อเป็นรายงวดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปไม่เกิน 3 ปี จำนวนเงินชำระต่องวด การดำเนินการเมื่อผิดนัดการชำระการบริการหลังการขาย และความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในคอมพิวเตอร์เครื่องนี้
                          3.การเช่า (Rental)
                             การเช่าเหมาะสมสำหรับการใช้งานระยะสั้น โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 1-12 เดิอน ทั้งนี้ค่าเช้าระยะเวลาการเช่าของเขตความรับผิดชอบต่อกันนั้นขึ้นอยู่กับการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้เช่า ข้อดีการจัดหาด้วยวิธีนี้คือ ลดภาระการดูแลรักษาเครื่อง ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากทันทีแต่ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธื์
                2.1.2 นโยบายการดูแลคอมพิวเตอร์
                         การจัดวางคอมพิวเตอร์  มีนโยบายหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเครื่องให้อยู่ในสภาวะปลอดภัยได้แก่ นะโยบายป้องกันการสุญหาย การมีแผนในกรณีฉุกเฉิน ฯลฯ

                2.2 การเลือกการสื่อสารข้อมูล

                      ระบบต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นั้นคือ สภาพแวดล้อมเชิงเทคนิค (Technical Enviroment) ที่รองรับการทำงานของระบบ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติการทำงาน (Specification) ที่เหมาะสม มีการเชื่อต่อกันเป็นระบบเครือข่ายสำหรับการเป็นสื่อสารข้อมูลที่มีคุณภาพเหมาะสมมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่าย การสื่อสารข้อมูล
                2.2.1 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเครือข่าย
                         การเลือกลักษณะทางสถาปัตรกรรมเครืองข่าย พิจารณาจากสิ่งเหล่านี้
                      1.คุณสมบัติการทำงาน (Specification)
                         การทำงานได้แก่ ความเร็วในการเชื่อมต่อ ข้อกำหนดทางเทคนิคในการสื่อสารข้อมูล (Protocal) ในเครือข่าย
                      2.รูปแบบของสถาปัตยกรรม
                         ลักษณะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายได้แก่ 
                      1) แบบบรวมศุนย์ (Centralized)
                      2) แบบไฟล์เชิร์ฟเวอร์ (File Server)
                      3) แบบไคลเอ็นต์เชิร์ฟเวอร์ (Client-Sever)
                      3.นโยบายด้านความปลอดภัย (Security Policy)
                         ลักษณะด้านนี้ไดแก่ นโยบายการเข้าถึงข้อมูล (Access Authorizaytion) นโยบายการระบุตัวตนผู้ใช้งาน เช่น การใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน การใช้การด์ การป้องกันไว้รัสคอมพิวเตอร์  
                 2.2.2 การทำงานร่วมกับระบบอื่นทีมีอยู่แล้ว (Compatibility)
                          ในบางองค์กรอาจมีระบบงานบางอย่างอยู่แล้ว และต้องการพัฒนาระบบเพิ่มเติมที่ทำงานร่วมกัน ระบบที่มีอยู่ เช่น ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน หรือการนำผลลัพธ์จากระบบหนึ่งมาทำหน้าที่เป็นข้อมูลของระบบใหม่

                 2.3 การเลือกมาตรฐานฮารด์แวร์สำหนับระบบเครือข่าย

                       การที่ระบบต้องทำงานบนสภาพแวดล้อมเชิงเทคนิคและโดยส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายทั้งสิ้น ในบทที่ 5 ที่ผ่านมาข้อการศึกษาความเป็นไปได้ ทางเทคนิคได้กล่างถึงแนวคิดในการจัดหาอุปกรณ์ไปบ้างแล้วในหัวข้อนี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐานทางเทคนิค (Specification)
                 2.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                          เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานระบบเครื่องแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือเครื่องแม่ข่าย (Server) และลูกเครือข่าย (Client) และระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
                       1.ชนิดของหน่วยประมวลผลกลาง (Central Unit Processor:CPU)
                       2.ขนาดหน่วยความจำขณะทำงาน (Ram)
                       3 ความจุของหน่วยบันทึกข้อมูล (หรือความจุฮารด์ดิสก์)
                       4.อุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากสื่อบันทึกข้อมูลที่ต้องการใช้งาน เช่นตัวอ่านแผ่นฟลอปบี้ (Floppy Disk Driver) ตัวอ่านแผ่น ซีดีและดีวีดี (CD/DVD)
                       5.ลักษณะจอภาพที่ต้องการ เช่น ขนาดหน้าจอ ชนิดของจอภาพ แบบ Lcd หรือแบบ CRT
                       6.ระบบปฏิบัติการที่รองรับ เช่น Windows NT Windows 2000 Noveli Netware เป็นต้น
                 2.3.2 ระบบปฏิบัติการ (Operrating System)
                           ระบบปฏิบัติงานจะต้องพิจาระณาว่าสามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จัดหาได้หรือไม่ หรือทำนองกลับกัน มาตรฐานทางฮาร์ดแวร์และของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาว่าสามารถนำมาใช้งานระบบปฏิบัติการเลือกใช้ได้หรือไม่
                       1.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)
                          เป็นระบบปฏิบัติงานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย โดยมีความสามารถในการจัดการระบบเครือข่ายและทำหน้าที่บริการด้านต่างๆ ในระบบเครือข่าย
                       2.ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย (Client Operating System)
                          เป็นระบบปฏิบัติงานสำหรับคอมพิวเตอร์ลูกข่ายโดยมีความสามารถในการเชื่อมต่อและสื่อสารข้อมูลกับระบบเครืองและรับบริการต่างๆได้
                  2.3.3 อุปกรณ์เชื่องโยงเครือข่าย (Network Device)
                           ค่ามาตรฐานที่ต้องการจะอยู่ในรูปความเร็วในรูปแบบความเร็วในการสื่อสารข้อมูล อุปกรณ์เชื่อมโยง เครือข่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการเชื่อมต่อแบบดาว (Star network) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ดังนี้
                        1 แผงเชือมต่อเครือข่ายสำหรับติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Netwotk inferface Card:Nic) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า แลนการ์ด (Lan Card)
                        2 อุปกรณ์กระจายสัญญาน โดยอุปกรณ์กลุ่มนี้ทำหน้าเป็นศูยน์กลางการสื่อสารข้อมูล (Node) ได้แก่ ฮับ (Hub) สำหรับการเชื่องโบงผ่านสายสัญญาณ แอ็คเซสพอยด์ (Access Point) สำหรับการเชื่อมโยงแบบไร้สาย เราเตอร์ (Router) ทำหน้าที่เส้นทางที่สิ้นที่สุด ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง 2 เครือข่าย เป็นต้น

                        3 การนำระบบไปใช้

                   การนำระบบไปใช้เป็นการนำการออกแบบซึ่งเป้นเสมือนพิมพ์เขียวไปสร้างให้เป้นตัวระบบขึ้นมาดังนี้
                     3.1 การทำสอบข้อกำหนดและการวางแผน
                  3.3.1 การจัดทำระบบต้นแบบ (Prototype)
                           ก่อนที่จะสร้าวงระบบขึ้นมาจริงๆ นั้นจะต้องมีการสร้างระบบต้นแบบขึ้นมาเพื่อทดสอบการทำงาน ของระบบในด้านต่างๆ ว่าได้ผลลัพธ์การทำงานต่างๆ เป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ผู้ที่ทดสอบอาจเป็นผู้พัฒนาระบบเอง หรือผู้ใช้งานระบบ หลังจาการทดลองเสร็จแล้ว
                           การทำระบบต้นแบบมี 2 ประเภทดังนี้คือ
                        1 ทำแบบมีพัฒนาการ (Evolution Prototype)
                           การทำต้นแบบในลักษณะนี้คือ การให้ระบบต้นแบบมีพัฒนาการต่อเนื่องไปเป็นระบบจริงหลังจากการถูกทดสอบการใช้งานและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้แล้ว โดยทั่วไประบบต้นแบบจะถูกเริ่มสร้างจากส่วนอื่นๆ ต่อไป
                        2 ทำแล้วทิ้ง (Throwaway Prototype)
                            ตันแบบประเภทนี้มักใช้ทำเพื่อสมาธิตหรือทดสอบการทำงานบางด้านเท่านั้น ผลการทดสอบจะเป็นข้อมูลหรือข้อสรุปที่ชัดเจน ไปใช้ในการสร้างระบบ หรือนำไปจัดทำเป็นข้อกำหนดในการออกแบบระบบ ต้นแบบประเภทนี้จึงไม่ค่อยมีการเก็บไว้เพื่อพัฒนาเป้นระบบจริงการสร้างระบบต้นแบบปประเภทนี้จึงเป้นการสร้างที่เรียบง่ายและรวดเร็วต่อการทดสอบใช้งาน
                  3.1.2 การเลือกเครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบ (Development Tools)
                           เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบในที่นี้ หมายถึงเครื่องมือสำหรับสนับสนุนการพัฬนาโปรแกรมที่จะนำใช้งานระบบใหม่ 
                        1 ความสามารถในการติดต่อและการจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบ
                        2 ความสามารถในการสร้างโปรแกรมแบบสภาพแวดล้อมทางเทคนิคที่กำหนด
                        3 รองรับแนวคิดสำหรับการสร้างโปรแกรมที่ออกแบบไว้ได้
                        4 การสนับสนุนจากผู้ผลิต เช่น การฝึกอบรม การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต่อเนื่อง
                     
                     3.2 การเขียนโปรแรกมและการทดสอบ  
                           ในกรณีที่ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเองจะมีลำดับการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมตามที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 13 แต่ไม่ว่าเราจะเลือกพัฒนาระบบบด้วยการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง หรือเลือกปรับใช้จาก โปรแรกมสำหรับรูป หรือว่าการเลือกใช้บริการจากแหล่งภายนอก ตัวระบบที่พัฬนาขึ้นมาจนเสร็จแล้วนั้นต้องผ่านการทดสอบทำงานก่อนที่นำติดตั้งใช้งานจริง
                  3.2.1 วิธืการทดสอบแบบกล่องทึบ
                   การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบถามในโปรแกรม ได้แก่ การเขียนโปรแกรม การออกแบบเชิงตรรกะหรืออัลกอริซึมของโปรแกรม การตรวจสอบประสิทธืภาพทางเทคนิค การใช้งานหน่วยความจำในปริมาณที่เหมาะสม
                     
                  3.2.2 วิธีทดสอบแบบกล่องใส
                           การทดสอบแบบนี้เป็นการทดสอบในโปรแกรม ได้แก่ การเขียนโปรแกรม การออกแบบเชิงตรรกะหรืออัลกอริธึมของโปรแกรม การตรวจสอบประสิทธิภาพทางเทคนิค การใช้งานหน่วยความจำในปริมาณที่เหมาะสม
                   
                     3.3 การทดสอบระบบทั้งหมด
                           
การทดสอบ ระบบทั้งหมดเป้นการทดสอบการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ ขั้นตอนการทดสอบมีอยู่  4 ขั้นตอน ตามลำดับของงาน
                 
                   3.3.1  การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Testing)
                             หน่วยย่อยในที่นี้อาจเป็นโมดูลต่างๆ ของโปรแกรมที่สร้างขึ้นมา หรืออาจเป็นโปรแกรมย่อยในระบบซึ่งขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการออกแบบที่เลือกใช้ การทดสอบหน่วยย่อยจึงเป็นการนับประสิทธิภาพของหน่วยย่อยๆ
               
                   3.3.2 การทดสอบการรวมกันของแต่ละหน่วยย่อย (Integration Testing)
                            เมื่อมีการนำหน่วยย่อยมาประกอบรวมกันเป็นระบบแล้ว จำดำหนินการทดสอบว่าแต่ละส่วนย่อยต้องสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด มี 2 วิธื ดังนี้
                         1 การรวมแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up integrattion)
                            การทดสอบการรวมจะเริ่มโดยประกอบจากโมดูลล่างสุดตามผังโครงสร้างโปรแกรม จากนั้นก็จะทดสอบการทำงานว่าทำงานร่วมกันได้หรือไม้ จากนั้นก็จะประกอบโมดูลในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทดสอบการทำงานว่าทำงานร่วมกันได้หรือไม่
                        2 การรวมแบบลงล่าง ('Top-Down Integration)
                           การทดสอบนี้เป็นการทดสอบโดยเริ่มประกอบโมดูลจากส่วนบนสุดตามผังโครงสร้างโปรแกรมจากนั้นจึงทดสอบทำงานร่วมกันของโมดูล จกานั้นจะประกอบโมดูลในระดับรองลงมาพร้อมทดสอบการทำงานร่วมกันของโมดูลที่เชื่องต่อด้วยกัน ทำดังนี้จนกระทั่งเสร็จภาพใหญ่
                  3.3.3 การทดสอบทั้งระบบ (System Testing )
                           หลังจากที่ทดสอบการรวมกันของส่วนย่อยแล้ว ก็จะดำเนินการทดสอบการทำงานทั้งระบบเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดในการทำงานและตรงกับ้ขอกำหนดตามความต้องการขั้นตอนนี้จึ้งเป้นหน้าที่นักวิเคราะห์ ระบบและโปรแกรมเมอร์ที่สร้างโปรแกรมขึ้นมา
                  3.3.4 การทดสอบการยอมรับตัวระบบ (Acceptance Testing)
                           แม้จะมีการทดสอบการทำงานทั้งระบบแล้ว แต่ก่อนที่เกิดการยอมรับระบบใหม่อย่างสมบูรณ์ ผู้ใช้งานระบบนั้น ต้องมีส่วนในการทดสอบการทำงานของระบบใหม่ด้วยตนเองและพิจารณาว่าตรงกับความต้องการหรือไม่
                       1 การทดสอบนี้จะสมบัติผู้ใช้งานและสมมติตัวข้อมูลที่ใช้นำเข้าในระบบ การทดสอบนี้จะทำทั้งระบบและทำซ้ำๆ ในกรณีต่างๆ ที่คาดว่าจะมีในการทำงานกับระบบ
                       2 การทดสอบบนสภาพแวดล้อมจริง (Beta Testing)
                          การทดสอบจะให้ผู้ใช้งานระบบจริงและใช้ข้อมูลจิริงในการทอสอบการทำงานของระบบจริงแต่ระบบจริงจะอยู่ในสภาพแวดล้อมจำลองแทน โดยติดตั้งระบบแยกออกมาต่างหาก แล้วให้ผู้ใช้ลองทำงานกับระบบที่ตั้งขึ้นเสมือนกำลังทำงานจริง ดังนั้น การทดสอบระบบก็จะมีความสมจริงมากที่สุด
                     
                   3.4 การฝึกอบรบผู้ใช้
                         การนำระบบไปใช้งานจะต้องมีการอบรบผู้ใช้ให้เข้าใจการทำงานในระบบใหม่ ควรจัดกลุ่มสำหรับการฝึกอบรบตามบทบาทความรับผิดชอบที่มีต่อระบบงาน ดังนี้
                3.4.4 เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ
                         การอบรมระดับนี้จะเน้นอบรมให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลระบบงาน เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้สามารถมีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนให้ระบบสามารถดำเนินไปอย่างเรียบร้อย หรือการแก้ปัญหาที่มาจากการใช้งาน ระบบที่อาจเกิดขึ้น การอบรมระดับนี้จะเน้นไปใน 2 ลักษณะงานใหญ่ คือ
                      1 การปรับแต่งค่าการทำงานของระบบ เช่น การกำหนดสิทธื์การใช้งานระบบ การหยุดใช้งานบางโมดูลชั่วคราว การตรวจสอบการทำงานตามช่วงเวลาที่กำหนด เป็นต้น
                      2 การกู้คืนการทำงานให้กับระบบ เช่น การนำข้อมูลที่เผลอลบออกจากระบบให้กลับเข้ามาการตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เป็นต้น
                3.4.2 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
                         การอบรมในระดับนี้จะเน้นที่การใช้งานระบบเป็นหลัก เช่น การใช้งานกับหน้าจอต่างๆ การบันทึกแก้ไข้ข้อมูล และอาจรวมถึงการฝึกอบรมทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น